การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล และวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งสงคราม วิกฤติเศรษฐกิจ เงินเพ้อ วิกฤติพลังงาน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อม โลกร้อน โลกรวน ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ระบบนิเวศทางธุรกิจ(Business Eco System) พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว และนี่คือความท้าทายของ “ผู้นำในศตวรรษที่ 21” ที่ต้องปรับตัวให้เร็ว
เพราะถ้าหากผู้นำ ปรับตัวไม่ทัน ก็ยากที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที ได้สำเร็จ ผู้นำในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเป็น “Adaptive Leadership” ซึ่งหมายถึง ผู้นำที่สามารถนำพาองค์กร หรือ ทีมงานฝ่าฟันความเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขปัญหาที่เปลี่ยนแปลง ผันผวนตลอดเวลาได้
ทำไม “ภาวะผู้นำแบบเดิม” จึงทำให้เผชิญความยากลำบากมากขึ้น
เพราะปัญหาที่ผู้นำเจอมันวิวัฒนาการได้ และมันซับซ้อนเกินจะใช้อำนาจจากตำแหน่ง หรือ ชี้นิ้วสั่งให้เปลี่ยนได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา และนี่คือเหตุผลที่ ภาวะผู้นำแบบเดิม(Authority Leader) อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว
ปัญหาที่ผู้นำเจอบ่อยในอดีตคือ Technical Problems หรือ ปัญหาเชิงเทคนิค ปัญหาที่สามารถนิยามและระบุได้ง่าย และชัดเจน สามารถแก้ไขได้โดยความสามารถส่วนบุคคล อาจใช้ผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คน ส่วนใหญ่แก้ไขได้ในระยะสั้นๆ ใช้อำนาจของผู้นำแก้ไขจัดการได้ทันที
ตัวอย่างปัญหาเชิงเทคนิค : ความผิดพลาดและของเสียในกระบวนผลิต , ข้อร้องเรียนด้านการบริการ
ส่วนปัญหาที่เจอบ่อยในปัจจุบันและจะมากขึ้นในอนาคตคือ Adaptive Challenge หรือ ปัญหาที่มีความผันแปร ปัญหายากจะนิยาม หรือ ระบุได้ว่ามันคืออะไร หากจะแก้ปัญหาได้ต้องอาศัยความร่วมมือ และต้องเปลี่ยนทั้งกรอบความคิด (Mindset) ความเชื่อและพฤติกรรม ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการวางแผนใช้ทรัพยากรในการแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้นำไม่สามารถใช้อำนาจผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยื่น
ตัวอย่างปัญหาที่มีความผันแปร : ระดับความผูกพันของพนักงานกับองค์กรลดลงในระดับวิกฤติ , ปัญหาเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียมในองค์กร
เปรียบลักษณะของปัญหา Technical Problems หรือ ปัญหาเชิงเทคนิค และ Adaptive Challenge หรือ ปัญหาที่มีความผันแปร
Technical Problems ปัญหาเชิงเทคนิค | Adaptive Challenge ปัญหาที่มีความผันแปร |
---|---|
Easy to identify ระบุและนิยามปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่าย | Difficult to identify and easy to deny. ยากต่อการนิยามและระบุบปัญหาที่เกิดขึ้น |
Often lend themselves to quick and concrete solutions สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น ส่วนใหญ่มีแบบแผนในการแก้ไขที่ชัดเจนอยู่แล้ว | When leaders are solving adaptive challenges, they need to think systemically in order to understand the whole array of actors involved, they need to understand the root causes which will require committing time and energy. ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริง รวมไปถึงต้องใช้เวลา ทรัพยากร และพลังงาน ถึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ |
Often can be solved by an authority or expert สามารถใช้อำนาจ หรือ ใช้ผู้เชียวชาญไม่กี่คน แก้ไขได้ | Require changes in values, beliefs, roles, relationships, and approaches to how to accomplish goals. ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ พฤติกรรม หรือ วัฒนธรรม เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน |
Technical solutions can often be implemented quickly—even by decree ใช้เวลาเตรียมการในการแก้ไขปัญหาไม่นาน | People often resist while acknowledging the existence of the adaptive challenge. มีแรงต่อต้านของ ผู้บริหาร และพนักงานบางกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด |
Often can be solved by data learning สามารถนำข้อมูลมาช่วยแก้ไขปัญหาได้ไม่ยาก | Solutions require experiments and new discoveries. ต้องอาศัยการลงมือ ทดลอง เรียนรู้ เพื่อได้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาได้ |
Focus talent or genius จะแก้ไขปัญหาได้ต้องอาศัยความรู้เป็นหลัก | Focus diversity & collaboration. ต้องอาศัยความหลากหลายและความร่วมมือ |
Technical Problems หรือ ปัญหาเชิงเทคนิค มักมีวิธีแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่องค์กรเคยพบเจอ และเตรียมการแก้ไขไว้บ้างแล้ว ปัญหาเชิงเทคนิคสามารถแก้ไขแบบจุดเดียวได้ รวมไปถึงสามารถใช้วิธีการออกระเบียบ หรือ นโยบายมาแก้ไข (Policy-making Loop) ที่คิดมาจากผู้บริหารที่เชียวชาญเพียงไม่กี่คน และไปบังคับใช้กับพนักงานทุกคน วิธีแบบนี้เป็นวิธีแบบดั้งเดิม ที่อาจขาดความเข้าใจผู้ปฏิบัติงานที่เผชิญปัญหานั้นจริงๆ สุดท้ายแล้วก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มิหนำซ้ำยังไปเพิ่มช่องว่างระหว่างองค์กร กับ พนักงาน ให้กว้างอีกขึ้นไปอีกด้วย
ส่วน Adaptive Challenge หรือ ปัญหาที่มีความผันแปร ที่พบเจอได้ชัดมากขึ้น จากการระบาดของโควิด-19 ที่เป็นเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความรวดเร็ว และมีความถี่ในการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น Adaptive Challenge หรือ ปัญหาที่มีความผันแปร ปัญหาที่มีความซับซ้อนกว่าและความผันผวน ไม่แน่ไม่นอนกว่า มันไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยกระบวนการออกนโนบาย หรือ ใช้อำนาจบริหารแบบดั้งเดิมได้ และตัวแปรของปัญหาที่ระบุได้ยากและขาดความชัดเจน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาแบบมองจุดเดียวได้
ดังนั้น กระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่มีความผันแปร ต้องอาศัยการทำความเข้าใจและเรียนรู้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เผชิญกับปัญหาจริง ที่มากกว่าแค่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม บนพื้นฐานความหลากหลายอย่างสร้างสรรค์ จนนำไปสู่ทิศทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน แน่นอนว่ากระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ “ผู้นำ” และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ความเชื่อและพฤติกรรมของตัวเองเสียก่อน
The most common leadership failure stems from trying to apply technical solutions to adaptive challenges.
ความผิดพลาดและล้มเหลวของผู้นำนั้นมาจากการรับมือกับปัญหาที่มีความผันแปรด้วยวิธีเดียวกันกับปัญหาเชิงเทคนิค
Checklist ว่าองค์กรของคุณจำเป็นต้องมี Adaptive Leader หรือไม่
- Can we survive with change องค์กรจะยังอยู่รอดหรือไม่ ? หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤตการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
- It the growth we create sustainable การเติบโตขององค์กรยั่งยืนหรือไม่? มีโซลูชั่นหรือเทคโนโลยีรองรับการเติบโตอย่างชัดเจน หรือเป็นเพียงการปรับตัว แก้ไขเฉพาะหน้าอยู่ในปัจจุบัน
หากไม่สามารถติ๊กถูก ได้สักข้อเลย การสร้าง Adaptive Leadership ในองค์กรคุณเป็นเรื่องจำเป็น แต่ถ้าหากคุณคิดต่อไปว่า ธุรกิจคุณเปราะบาง และ มีโอกาสที่ผู้เล่นรายใหม่ (New Player) ที่มีศักยภาพและเทคโนโลยีจะเข้ามาทดแทน และ Disruption คุณได้ การสร้าง Adaptive Leadership เป็นเรื่องเร่งด่วน
คุณคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการพัฒนา Adaptive Leadership ในองค์กร
- ยังไม่มีความจำเป็นในตอนนี้
- เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องพัฒนาในเร็วๆ นี้
- เป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาทันที
Adaptive Leadership Characteristics
ผู้นำในศตวรรษที่ 21 จะมีคาแรคเตอร์เด่นอยู่ 6 อย่าง
- Think outside the box and challenge the way things have always been done.
คิดนอกกรอบ และชอบท้าทายความคิดตัวเองตลอดเวลา - Are flexible and accept change as part of the organization’s evolution.
มีความยืดหยุ่นและยอมรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการพัฒนาองค์กร - Embrace rather than fear uncertainty, learn from it, and use it to find better solutions.
โอบกอดความไม่แน่นอน แทนที่จะกลัว เลือกที่จะเรียนรู้จากมัน และใช้มันหาวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่า - Are proactive instead of reactive.
ทำงานเชิงรุก ควบคุมตัวเอง มากกว่าให้ถูกควบคุมด้วยสถานการณ์ - Are open to experimentation.
เปิดรับการเรียนรู้จากการทดลองทำ และความเสี่ยง - Welcome a diversity of viewpoints.
เปิดรับมุมมอง ความคิด ความเชื่อ ที่หลากหลายอย่างจริงใจ
“Adaptive Leadership” Loop ผู้นำในศตวรรษที่ 21 ต้องทำอะไร
Identify Challenges & Prioritize
สำรวจดูว่าสิ่งไหนควรเปลี่ยนแปลงสิ่งไหนควรรักษาไว้เริ่มจากตัวคุณเอง และพัฒนาไปสำรวจถึงองค์กร ว่าสิ่งใดควรอนุรักษ์ไว้ สิ่งใดควรพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อปรับสภาพให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
Developed & Test
ปัญหาในยุคใหม่จะเป็นปัญหาที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาแก้ไขไปเรื่อย ๆ จะไม่มีวิธีการที่ตายตัวต้องทดลอง ทดสอบ อย่างรวดเร็ว หลากหลาย โดยการใช้ทีมงานเข้ามามีส่วนช่วย
Integrate the solution
เมื่อได้ผลลัพธ์จากข้อที่ 2 มาแล้วอย่างชัดเจน ว่าเป็นวิธีที่ดีได้ผลที่สุดแล้ว นำมาใช้กับองกร
จุดดี – จุดอ่อนของ “Adaptive Leadership”
จุดดี | จุดอ่อน |
คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ดี | มองข้ามกฏหรือระเบียบที่มี (บางทีก็ไม่ใช่ข้อเสีย) |
มองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสมากกว่าเป็นอุปสรรค | บางครั้งอาจตัดสินใจเร็วกว่าที่ควรจะเป็น |
การยอมรับความแตกต่าง ส่งเสริมความเท่าเทียมในการทำงาน | เน้นความว่องไว มากกว่าโครงสร้าง |
มีแนวโน้มสร้างความร่วมมือได้อย่างยอดเยี่ยม | ไร้ซึ่งกฏเกณฑ์ |
จุดแข็งของทีมถูกนํามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ | บางครั้งไม่มีการกำหนดมาตรฐาน |
หลักการ 6 ข้อสู่การสร้าง “Adaptive Leadership”
- The big picture มองภาพรวม การที่จะแก้ไขปัญหา และนำพาองค์กรก้าวผ่านความผันผวนที่ซับซ้อนได้ ผู้นำต้องมองเห็นภาพใหญ่ มุมสูง และมุมกว้าง เพื่อเห็นถึงความเชื่อมโยงของปัญหา รวมไปถึงความเกี่ยวข้องของปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเสียก่อน
- Focus ระบุปัญหาและแนวทางที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน เมื่อเห็นและเข้าใจสภาพปัญหาดีแล้ว ผู้นำต้องกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหา ผ่านการระบุปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องแก้ไขให้ชัดเจนที่สุด รวมไปถึงสามารถไกด์แนวทาง หรือ สิ่งทีมต้องโฟกัส และจัดลำดับความสำคัญในการปฏิบัติการ
- เข้าใจสาเหตุการเปลี่ยนแปลง ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีแรงต้านเสมอ นั่นเพราะผู้คนอาจไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงคือสร้างคุณค่าใหม่ ในขณะที่มีบางอย่างถูกทำลาย อย่างน้อยก็ทำลายความรู้สึกถึงเสถียรภาพของคนบางกลุ่มไป หน้าที่สำคัญของผู้นำคือการสื่อสารถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงให้เข้าใจ
- Balance รักษาวินัยให้สมดุล การสร้างกฎหรือระเบียบเพื่อควบคุมให้การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไม่ขยายวงกว้าง เป็นหนึ่งในแทคติกที่ผู้นำจำเป็นต้องทำในบางครั้ง แต่อย่างไรก็ตามผู้นำก็ต้องจำเป็นขับเคลื่อนแคมเปญการเปลี่ยนแปลง ในวิธีที่การที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎและผลักดันการเปลี่ยนแปลงแบบเปิดกว้าง
- สร้างการมีส่วนร่วมปลูกฝังความเป็นเจ้าของธุรกิจให้กับทีมงาน ความรู้สึกเป็นเจ้าของ คือแรงผลักดันที่เป็นมากกว่าค่าจ้างและหน้าที่ แนวคิดนี้เป็นหัวใจสำคัญของ Adaptive Leadership เลยก็ว่าได้ เพราะการโน้มตัวลงไปหาผู้คน เข้าไปสื่อสาร จูงใจ ให้เหตุผล รับฟัง เพื่อดึงให้ผู้ตามมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลง รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของ ที่มีความอยู่รอดเป็นเดิมพัน โดยที่มองข้ามอำนาจจากตำแหน่งที่ผู้นำสามารถชี้สั่งได้เลย มันคือแนวคิดที่ผู้นำแบบดั้งเดิมไม่มี
- รับฟังเสียงคนตัวเล็กๆ ให้ครอบคลุม ถ้าผู้นำขับเคลื่อนผู้คนด้วยหัวใจ การทำให้คนตัวเล็กหัวใจพองโตได้ ก็เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จเลยล่ะ และสิ่งที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้ คือการรับฟัง ทำให้ผู้ตามรู้สึกว่าทุกความคิดเห็นของพวกเขาสำคัญและมีค่า ถึงแม้ในสถานการณ์นั้นผู้นำไม่สามารถพลิกความคิดเห็นที่ได้รับมาเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อพวกเขาได้ แต่อย่างไรผู้นำก็ต้องรับฟังเสียงที่สะท้อนมาจากระดับปฏิบัติงานให้ได้มากที่สุด เพราะผู้บริหารไม่มีวันเข้าใจความท้าทายของผู้ปฏิบัติงานทุกคน จึงไม่สามารถคิดเอง เออเอง แล้วตัดสินใจเองเหมือนในอดีตได้อีกแล้ว
จะสังเกตได้ว่าทักษะของ ผู้นำแบบปรับตัว(Adaptive) จะมีความแตกต่างกับภาวะผู้นำทั่วไป(Core Leadership) ที่โฟกัสทักษะอยู่ 3 ด้านคือ ทักษะด้านกลยุทธ์ , ทักษะด้านปฏิบัติการ และทักษะด้านการจัดการผลลัพธ์ ส่วน Adaptive Leadership จะให้ความสำคัญกับทักษะ 4 ด้านคือ ความอัจฉริยะทางอารมณ์ , การจัดการความยุติธรรมในองค์กร , บุคลิกภาพ , และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4 ทักษะพื้นฐาน “Adaptive Leadership”
Emotional intelligence – อัจฉริยะทางอารมณ์
EI ประกอบด้วยความสามารถ 4 อย่างคือการรับรู้และตระหนักถึงอารมณ์ของตัวเอง , ความสามารถในการควบคุมตัวเอง , ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น , ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง และความสามาถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้นำสร้างสามารถที่จะสร้างสัมพันธภาพ ตลอดไปถึงสร้างความไว้วางใจกับผู้ตาม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนผู้คนไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดแรงต้านที่มีพื้นฐานจากความไม่เข้าใจได้ดีเลยทีเดียว
Organizational justice – การจัดการความยุติธรรมในองค์กร
สิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้ของผู้นำในศตวรรษที่ 21 คือความยุติธรรม ในที่นี้หมายถึงผู้นำต้องสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานความตรงไปตรงมา สร้างกิจกรรมที่เร่งให้เกิดวัฒธรรมการยอมรับความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความร่วมใจในองค์กร (DEI : Diversity, Equity และ Inclusion) ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างบรรยายกาศของการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
Character – บุคลิกภาพ
“ผู้นำคือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง และ สิ่งสะท้อนถึงคุณภาพขององค์กร” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริง ผู้นำคือต้นแบบสำคัญของผู้ตาม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความซื่อสัตย์ , น่าเชื่อถือ และยอมรับความแตกต่าง เพราะมันคืออิทธิพลทางใจ และทางความคิดต่อผู้คนที่จะเดินตาม และทุ่มเทเพื่อคุณ
Development – การเรียนรู้และพัฒนา
ยิ่งโลกเปลี่ยนเร็วเท่าไหร่ ความรู้ชุดเดิมหมดอายุเร็วขึ้น ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ให้เร็วจะสำคัญมากขึ้นเท่านั้น ผู้นำในศตวรรษที่ 21 ต้องไม่ยึดติดกับหลักการหรือชุดความรู้ใด ความรู้หนึ่ง แบบตายตัว แต่ต้องมี Growth Mindset ที่กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นก็เพื่อหาโซลูชั่นใหม่ๆ มาแก้ไขปัญหา รวมไปถึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้ทีมงานได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วย
สรุป Adaptive Leadership คือ ผู้นำที่จะนำพาองค์กร และ ทีมงานฝ่าฟันการเปลี่ยนแปลง แก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Adaptive Challenge ด้วย 3 ขั้นตอนคือการระบุสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง , ทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ และ ผสานโซลูชั่นที่ดีที่สุด เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน วนเป็นลูปไม่รู้จบ ซึ่งผู้นำต้องมีคาแรคเตอร์หลัก 6 อย่าง และจะสร้าง Adaptive Leadership ได้ต้องเข้าใจและเริ่มทำตาม หลักการ 6 ข้อ รวมไปถึงให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะพื้นฐาน Adaptive Leadership ทั้ง 4 ด้านด้วย