Perfect Training

10x Effective Delegation : มอบหมายงานอย่างไรให้ลูกน้องเก่งขึ้น 10 เท่า

จุดตายของ “หัวหน้า” คือ สั่งงานไม่เป็น มอบหมายงานไม่ได้ ให้ฟีดแบคไม่ดี

🚨 เชื่อไหมว่าหัวหน้ากว่าครึ่ง “ล้มเหลว” ในการเป็นหัวหน้างานครั้งแรก
งานวิจัยชี้ว่าหัวหน้างานใหม่กว่า 61% ยอมรับตรงๆ ว่าพวกเขาไม่ได้เตรียมความพร้อมกับบทบาทใหม่ที่จะได้รับ
และอีก 76% บอกว่าองค์กรไม่ได้สนับสนุนทางความรู้ ให้พวกเขาเลย

บทความนี้จะช่วยให้หัวหน้าเปลี่ยน “จุดตาย” ให้กลายเป็น “จุดแกร่ง”

ทำไมต้องมอบหมายงาน – What are the benefits of delegating?

Free up your time to achieve more : การมอบหมายงาน ช่วยให้หัวหน้ามีเวลาเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะไปทำงานที่สำคัญและสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้องค์กร ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม หัวหน้าต้องทำแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ Operation (ปฏิบัติงาน) , Training (สอนงาน) , Controlling (ควบคุมงาน) , Checking (ตรวจสอบ) , จนถึง Report (รายงาน) การที่หัวหน้านั้นทำทุกอย่างไม่ได้หมายความว่าผลงานนั้นจะออกมาดี ไม่มีความผิดพลาด เพราะปัจจัยเรื่องเวลาที่หัวหน้างานหนึ่งคนไม่สามารถทำทุกอย่างได้ ถึงทำได้ก็ไม่มีเวลาไปทำงานที่สร้างคุณค่าที่สำคัญต่อองค์กรได้ อย่างงานด้านกลยุทธ์ , งานแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน , งานพัฒนานวัตกรรม และ งานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร

Increase your team’s flexibility : การมอบหมาย ช่วยสร้างความยืดหยุ่น และ เพิ่มความสามารถในการรับมือกับความท้าทายของการทำงานในอนาคตให้กับทีมได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากบริบทการทำงานในปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หักศอก(คาดเดายาก) ทำให้ปัญหาและวิกฤติ ที่ต้องพบเจอในอนาคต จะมีความซับซ้อน และ เข้าใจได้ยากมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาที่หัวหน้าคนเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องอาศัย ความร่วมมือ ความหลากหลาย จากทีมที่มีทีมเวิร์คที่แข็งแกร่ง การมอบหมายงานจึงเป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมทางทักษะและการฝึกจำลองในสถานการณ์จริงที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางจิตใจในการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคของทีมด้วย

Expand & Grow your team’s efficiency : การมอบหมายงานช่วยขยายขอบเขตความสามารถของทีมและสร้างการเติบโตอย่างไรขีดจำกัด เพราะการมอบหมายงาน หรือ Delegation เป็นเครื่องมือการบริหารคน บริหารงาน บนแนวคิดการบริหารแบบกระจายอำนาจ (Empowering) ที่มอบสิทธิ์ในการตัดสินใจในการทำงานให้ทีมงานไปด้วย รวมไปถึงอนุญาตให้มีพื้นของความผิดพลาด ให้ทีมได้เรียนรู้ จากปัญหาจริงด้วยตัวเอง เป็นการบริหารที่เน้นการสนับสนุน มากกว่าการสั่งให้ทำ ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารที่ช่วยสร้างการเติบโตได้อย่างไรขีดจำกัด และ ยั่งยืน ตรงข้ามกับการบริหารแบบให้ทิศทาง (Direction) ที่ทุกอย่างต้องถูกควบคุมโดยหัวหน้าทุกกระบวนการ ลูกน้องมีหน้าที่ทำตามคำสั่ง หรือ ทำตามระบบที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่มีโอกาสให้ผิดพลาด

การบริหารแบบให้ทิศทางที่ชัดเจน หรือ Direction อาจทำให้เห็นผลลัพธ์เร็วกว่า แต่ระยะยาวแล้วทีมงานเติบโตช้า
ในทางกลับกัน การบริหารแบบกระจายอำนาจ Empowering แม้ผลลัพธ์จะช้ากว่าในช่วงแรก แต่ระยะยาวแล้วทีมงานจะ สามารถสร้างผลงานที่เหนือกว่าอย่างยั่งยืน

Effective Delegation
3 องค์ประกอบมอบหมายงานอย่างไรให้ลูกน้องเกงขึ้น 10เท่า (Element of 10x Effective Delegation)

3 องค์ประกอบมอบหมายงานอย่างไรให้ลูกน้องเกงขึ้น 10เท่า (Element of 10x Effective Delegation)

Task – เลือกงานที่จะมอบหมาย

องค์ประกอบแรกนี้จะให้ความสำคัญอยู่ 3 เรื่องคือ Task Delegation (การเลือกงานที่จะมอบหมาย) , การกำหนดเป้าหมายในงานที่จะมอบหมายให้ชัดเจน (Task Expectation) และ สุดท้ายการกำหนดอำนาจในการตัดสินใจในงานที่จะมอบหมาย (Task Authority)

6T ลักษณะงานโดยทั่วไปที่ควรมอบหมายงาน

Tiny งานเล็กๆ น้อยๆ : งานที่ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วนเป็นงานเล็กๆ หลายๆ งาน ซึ่งรวมกันแล้วต้องใช้เวลาพอสมควร เป็นงานที่รบกวนให้หัวหน้าไม่สามารถทำงานเชิงกลยุทธ์ หรือ งานที่สำคัญกว่าได้ อย่างเช่น งานลงทะเบียน จองบริการต่างๆ , ลงเวลานัดหมายประชุม , งานส่งข้อมูลให้ลูกค้า หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , งานหาข้อมูลเพิ่มเติม

Tedious งานง่ายๆ  : งานที่ไม่ได้ใช้ทักษะขั้นสูง ที่ใครๆ ก็ทำได้ อย่างเช่น คีย์ข้อมูล , อัพเดทข้อมูล , พิมพ์รายงาน หัวหน้าสามารถมอบหมายให้ลูกน้องได้ฝึกทักษะเบื้องต้นได้

Time-Consuming : งานที่มีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาทำระยะหนึ่ง เป็นงานที่ต้องอาศัยเวลาและต้องโฟกัสกับงานนั้นเป็นพิเศษ แต่เป็นลักษณะงานที่ไม่ได้มีความสำคัญมาก ซึ่งหัวงานสามารถมอบหมายงานนี้ให้ลูกน้องที่มีความสามารถทำไปสัก 80% ของงานแล้วหัวหน้าค่อยเข้ามามีบทบาทตรวจสอบ ให้คำแนะนำ หรืออนุมัติอีก 20% สุดท้าย อย่างเช่นงาน จัดทำ Presentation รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน , ออกแบบกิจกรรมเพิ่มผลผลิตของหน่วยงาน

Teachable : งานที่มีรายละเอียดการปฏิบัติ และ ประกอบด้วยงานย่อยหลายอย่าง ซึ่งจะมอบหมายงานได้ต้องมีการสอนงานอย่างเป็นระบบ เป็นงานเชิงปฏิบัติการที่ควรมอบหมายให้ลูกน้อง โดยในขั้นสุดท้ายหัวหน้างานค่อยเข้ามามีบมบาทในการร่วมตรวจสอบ อย่างเช่น งานเปิด PR – PO , งานสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน , การวางแผนงานเชิงปฏิบัติการ

Time Sensitive : งานที่แข่งกับเวลา เป็นงานเร่งด่วน ที่ไม่ควรยึดติดไปกับหัวหน้างานเพียงคนเดียว เพราะในบางสถานการณ์ที่หัวหน้างานไม่อยู่อาจสร้างปัญหาได้เช่น งานให้ข้อมูลพื้นฐานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , การตอบคำถามลูกค้า , รายงานข้อมูลเร่งด่วน ซึ่งเป็นงานที่หัวหน้าควรสอนและมอบหมายให้ลูกน้องทำได้

Terrible At : งานเฉพาะทางที่ใช้ทักษะขั้นสูง และเป็นงานที่หัวหน้างานไม่ถนัด อย่างเช่น ออกแบบกราฟิก , ตัดต่อวิดีโอ , สร้าง Dashboard เป็นต้น เพราะหากในสถานการณ์เร่งด่วน หัวหน้างานทำเองอาจไม่ทันเวลา และ ผลลัพธ์อาจไม่ดีตามเป้าหมาย หัวหน้างานควรมอบหมายงานที่ท้าทายนี้ให้ลูกน้องที่มีความสามารถ

ถ้า 6T ยังไม่ตอบโจทย์ลองเอาแนวคิดนี้ลองวิเคราะห์งานว่าควรมอบหมายหรือไม่

ลองใช้ประเมินงานจาก 4 ปัจจัยนี้คือ
Amount of Time – งานนี้ต้องใช้เวลาทำมากน้อยแค่ไหน
Urgency – งานนี้มีความเร่งด่วนมากแค่ไหน
Complexity – งานนี้มีความซับซ้อนมากแค่ไหน
Impact Other – งานนี้มีผลกระทบต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน

วิธีการวิเคราะห์งานก่อนจะมอบหมายด้วยแนวคิด A-U-C-I มี 3 ขั้นตอน
1. เลือกงานที่ต้องการจะมอบหมาย
2. ใช้ข้อมูลจากตารางด้านล่างคำนวนตามสูตร A x U x C x I = Delegate Points
3. นำผลวิเคราะห์มาสรุปและประเมินความเป็นไปได้ในการมอบหมายตามสถานการณ์จริง

ปัจจัย5 คะแนน3 คะแนน1 คะแนน
Amount of Timeใช้เวลานาน
(มากกว่า 2 สัปดาห์)
ใช้เวลาพอประมาณ
(ไม่เกิน 1 สัปดาห์)
ใช้เวลาไม่นาน
(น้อยกว่า 1 วัน)
Urgencyไม่เร่งด่วน
และไม่มีอยู่ในแผนงาน
อยู่ในแผนงานเร่งด่วน
Complexityมีความซับซ้อนน้อยสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีมีความซับซ้อนแต่มีระบบการปฏิบัติที่ชัดเจนมีความซับซ้อนมาก
ต้องมีการสอนงาน
Impact Otherไม่มีความเสี่ยงเมื่อเกิดความผิดพลาดมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยเมื่อเกิดความผิดพลาดหากมีความผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อองค์กร หรือ ลูกค้าโดยตรง

ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ : จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน HR

Amount of Time = 3 คะแนน
Urgency = 3 คะแนน
Complexity = 3 คะแนน
Impact Other = 3 คะแนน

(A)3 x (U)3 x (C)3 x (I)3 = 81
(ค่ายิ่งมาก หมายความว่า งานนี้ควรมอบหมายให้ทีมงาน)

งานที่จะมอบหมายAmount of TimeUrgencyComplexityImpact Otherผลรวมสรุปแนวทาง
สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน HR333381จัดทำระบบให้ลูกน้องสามารถทำตามระบบเพื่อลดความผิดพลาด
สรุปข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำเสนอปรับเงินเดือน โบนัส5551125มอบหมายงานให้ลูกน้องทำข้อมูล แล้วหัวหน้าอนุมัติตรวจสอบ
วางแผนฝึกอบรมประจำปี531115มอบหมายให้ลูกน้องทำ ทำกิจกรรมย่อยๆ ในงานแล้วหัวหน้าเป็นผู้สรุปวิเคราะห์
ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์งานที่จะมอบหมายด้วยแนวคิด A x U x C x I

เมื่อเลือกงานที่จะมอบหมายได้แล้ว ให้กำหนดเป้าหมาย และ ระดับอำนาจในการตัดสินใจ

การกำหนดเป้าหมาย และ ความคาดหวังของงานที่จะมอบหมาย ประกอบดัวย

1. เป้าหมายของงาน – สามารถใช้หลัก SMART มาช่วยตั้งเป้าหมายของงานให้มีประสิทธิภาพได้

  • Specific : ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไรจากงานนี้
  • Measurable : ต้องมีเครื่องมือที่สามารถวัดความก้าวหน้าและความสำเร็จของงานได้
  • Attainable : ค่าเป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ ทั้งในมิติของเวลาและคุณภาพของงาน
  • Relevant : มีความสอดคล้องกับบทบาทและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
  • Time Based : มีกรอบเวลาอย่างชัดเจน

2. วัตถุประสงค์ของงาน – งานนี้ทำเพื่ออะไร สำคัญต่อลูกน้องอย่างไร ทั้งในมิติของ ผลงานที่อยากได้ (Performance) และ ศักยภาพที่ต้องการให้ลูกน้องได้เรียนรู้ พัฒนา (Potential)

ระดับอำนาจในการตัดสินใจ มีอยู่ 4 ระดับ เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดในกิจกรรมต่างๆ ของงานที่จะมอบหมาย

  • ระดับที่ 4 : สามารถตัดสินใจ และ ลงมือทำได้ทันที
  • ระดับที่ 3 : สามารถตัดสินใจตามขอบเขตที่กำหนด หรือ ตัดสินใจจากข้อมูล และ ลงมือทำได้
  • ระดับที่ 2 : สามารถนำเสนอความเห็น และจะลงมือทำได้หลังจากได้รับการอนุมัติแล้วเท่านั้น
  • ระดับที่ 1 : ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเท่านั้น


ตัวอย่างการวางแผนการมอบอำนาจในการตัดสินใจในงาน วางแผนฝึกอบรมประจำปี

งาน / กิจกรรมAct on InstructionAct After ApprovalDecide, Inform & ActDecide & Act
ออกแบบฟอร์มสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม
ดำเนินการสำรวจความต้องการฝึกอบรมหน่วยงานต่างๆ
สรุปผลสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม
วางแผนฝึกอบรมตามข้อมูลสำรวจ

สรุป 4 สิ่งที่ต้องมีก่อนการมอบหมายงานคือ
1. Results Expected : ผลลัพธ์ที่คาดหวังในงาน
2. Duties : บทบาท หน้าที่ และแนวทางปฏิบัติ
3. Authority : ขอบเขต และ อำนาจในการตัดสินใจ
4. Performance Indicator : ตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน และ แนวทางการติดตามผล

People – เลือกคนที่จะมอบหมายงาน

องค์ประกอบนี้จะให้ความสำคัญ 3 เรื่องคือ Delegator Mindset หรือ ทัศนคติที่ใช่ของหัวหน้างาน จะพูดถึงการบริหารงานแบบ Micro Management ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการมอบหมายงาน , Delegator ability ขีดความสามารถของหัวหน้าจะพูดถึงความสามารถในการสื่อสาร และ การฟังเป็นหลัก สุดท้าย Delegate Personality คือเครื่องมือในการคัดเลือกและมอบหมายงานให้ตรงกับ Personality Type

ในบทความนี้จะพูดเครื่องมือและแนวทางในการเลือกคนมารับมอบหมายงาน 2 แนวทาง
ทั้งแบบ “มีคนให้เลือก” และ “ไม่มีคนแต่ตอนเลือก”


ครั้งหนึ่งผมเคยถามพี่ๆ Manager ในคลาส Effective Delegation ว่า

📌 “อะไรคือเรื่องน่าปวดหัวที่สุดในการมอบหมายงาน”
พี่ๆ Manager ส่วนใหญ่บอกว่า “เลือกคนมารับมอบงาน”

”ถ้าพอมีคนให้เลือก“ ลองใช้เกณฑ์นี้ B-E-S-T ในการคัดเลือกลูกน้อง

B = Behavior : มีพื้นฐานนิสัย ที่ช่วยให้งานนั้นสำเร็จ เช่น มีความรับผิดชอบ , คิดนอกกรอบ , กล้าตัดสินใจ , มี Service Mind เป็นต้น

E = Efforts : มีความเต็มใจ สนใจ ชอบ เลยขออาสามาทำ งานนั้น หรือ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เป็นพิเศษ

S = Skills : มีความรู้ และ ทักษะ เพียงต่อการทำงานนั้นให้สำเร็จ

T – Time : มีเวลา และ สามารถให้เวลา กับงานได้อย่างเต็มที่ เสร็จทันเส้นตายของงาน

โดยปกติแล้วควรให้ความสำคัญไปที่ B กับ E สัก 60-70% ส่วน S กับ T หัวหน้าสามารถช่วยสอนงาน ช่วยดึงงานที่สำคัญน้อยกว่าออกมาให้ลูกน้องมีเวลาทำงานที่มอบหมายใหม่ได้ แต่ B กับ E มันสร้างได้ยากกว่า

“ถ้าไม่มีใครให้เลือกแต่ต้องเลือก” ลองใช้เทคนิคนี้

วิเคราะห์ลูกน้องกับงานว่า น้องมีความรู้ มีทักษะ ความสามารถที่พอจะทำงานนี้สำเร็จไหม (Skill) , และน้องมีความเต็มใจ มุ่งมั่นที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จไหม (Will)

High Skill, Low Will
(รู้ แต่ ไม่อยาก)

High Skill, High Will
(รู้ และ อยาก)
Low Skill, Low Will
(ไม่รู้ และ ไม่อยาก)

Low Skill , High Will
(ไม่รู้ แต่ อยาก)
จะรู้ว่าน้องอยู่ในสเตตัสไหน 1 ใน 4 นี้
🔥 Low Skill , High Will (ไม่รู้ แต่ อยาก)
🌟 High Skill, High Will (รู้ และ อยาก)
☄️ High Skill, Low Will (รู้ แต่ ไม่อยาก)
🪵 Low Skill, Low Will (ไม่รู้ และ ไม่อยาก)

🌟 น้องที่ High Skill, High Will (รู้ และ อยาก) มอบหมายงานได้เลย 4 องค์ประกอบในการมอบหมายต้องครบนะ คือ

1. จุดมุ่งหมาย (Purpose) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Results Expected)
2. บทบาท หน้าที่ แนวทางปฏิบัติงาน (Duties) และ ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น (Accountability)
3. ขอบเขต สิทธิ์และอำนาจในการตัดสินใจได้แค่ไหน (Authority)
4. สุดท้าย การติดตาม (Follow up) และ ตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน


🔥 ถ้าจะมอบหมายงานน้องที่มีสเตตัส ”ไม่รู้ แต่ อยาก“ (Low Skill , High Will)

ให้มอบหมายด้วยการสอนงานก่อน อดทนคอยให้คำแนะนำ ให้เวลากับน้องมากหน่อย เน้น Empathy รักษาบรรยากาศ จะช่วยให้น้องเปลี่ยนสเตตัสเป็น ”รู้ และ อยาก“ จากนั้นก็มอบหมายงาน Empowers น้องได้เลย


☄️ จะมอบหมายงานน้องที่มีสเตตัส ”รู้ แต่ ไม่อยาก“ (High Skill, High Will)

ถ้า Trust น้องกับเรายังพอมี ลองเปิดใจคุยว่า “น้องติดอะไรหรือป่าวถ้าพี่จะ assign งานนี้ให้ , พี่ช่วยอะไรน้องได้บ้าง” รีบหาให้เจอว่าอะไรทำให้น้อง “ไม่อยาก” แล้วรีบช่วยน้อง

แต่ถ้า Trust ไม่ค่อยดี แต่อยากใช้ความเก่งของน้องคนนี้ ให้เน้นใช้คำถามเพื่อดึงน้องมามีส่วนร่วมกับเราก่อน แทนการออกคำสั่ง แสดงให้น้องเห็นว่า เราให้เกียรติ และชื่นชมในความสามารถของเค้า อดทนหน่อย ไม่นานน้องจะเปลี่ยน สเตตัสเป็น ”รู้ และ อยาก“ จากนั้นงานที่มอบหมาย อำนาจที่มอบให้น้องไป จะสร้างคุณค่าสูงแน่นอน


🪵 ส่วนน้องที่ ”ไม่รู้ และ ไม่อยาก“ (Low Skill, Low Will) จริงๆ ก็อยากแนะนำให้พิจารณาลองหาน้องคนใหม่ดีกว่า เพราะถ้ารีบ!! กับน้องสเตตัสนี้ โอกาสสำเร็จไม่เยอะมาก

แต่เราจะเป็น ”หัวหน้าที่ให้โอกาส“ แนะนำให้ลองมอบหมายงานที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ความเสี่ยงไม่เยอะ พลาดแล้วผลกระทบไม่มากให้น้องดูก่อน แล้วค่อยไต่ระดับขึ้นไป ที่สำคัญเราต้องอดทน สอนงานน้อง ปรับวิธีคิดของน้อง ซึ่งต้องยอมรับว่าท้าทายและใช้เวลาพอสมควร แต่เมื่อไหร่ที่น้องรู้สึกได้ว่าเราจริงใจที่จะช่วยเขาจริงๆ น้องจะค่อยๆ เปลี่ยนสเตตัส

Methodology – ขั้นตอนการมอบหมายงาน

องค์ประกอบสุดท้ายของ 10x Effective Delegation มอบหมายงานลูกน้องนี้ จะพูดถึงขั้นตอนการมอบหมายงาน และ แนวทางการติดตามและให้ Feedback & Feedforward

ขั้นตอนการมอบหมายงานมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดงานที่จะมอบหมาย
ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดขอบเขตและผลลัพธ์ที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 3 : เลือกคนที่จะรับมอบหมายงาน
ขั้นตอนที่ 4 : สื่อสารและมอบหมายงาน
ขั้นตอนที่ 5 : ติดตามผล เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 6 : ประเมินผลการปฏิบัติงาน พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนา

แนวทางและตัวอย่างการสื่อสารในการมอบหมายงานด้วย The Golden Circle

WHY = The Purpose (จุดมุ่งหมายของงาน) – งานตรวจนับสต๊อคเป็นงานที่สำคัญของคลังเรา เพราะมันจะเป็นข้อมูลให้ทีมผู้บริหารสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานนี้ต้องใช้ความละเอียด รอบคอบอย่างมาก

HOW = The Process (ขั้นตอน แนวทาว) – วิธีการนะ ให้ปริ้นเอกสารออกมาจากระบบ แล้วตรวจนับตามโลเคชั่นในระบบ ถ้าข้อมูลไม่ตรงสามารถปรับในระบบได้เลย ใส่หมายเหตุไว้ให้พี่ด้วย

WHAT = The Result (ผลลัพธ์ของงาน) – พี่รบกวนตรวจนับสต๊อค คลังสินค้า A (location 1-10) เริ่มนับตั้งวันที่ 1 -5 สิงหาคม นี้นะ พร้อมสรุปข้อมูลให้พี่ด้วยภายในวันที่ 15 สิงหาคม

การสื่อสารด้วย Golden Circle ในการมอบหมายงานจะช่วยให้ผู้รับมอบหมายงานรับรู้ถึงคุณค่าของงานซึ่งจะเสริมสร้างแรงจูงในการทำงาน และ เข้าใจแนวทาง หรือ ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานโดยไม่จำเป็น รวมไปถึง ผู้รับมอบหมายงานเข้าใจ ผลลัพธ์ที่คาดหวังของหัวหน้า


สรุปการมอบหมายงานที่จะทำให้ลูกน้องเก่งขึ้น 10 เท่า (10x Effective Delegation) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ
Task – เลือกงานที่จะมอบหมาย โฟกัส 3 เรื่อง Task Delegation (การเลือกงานที่จะมอบหมาย) , การกำหนดเป้าหมายในงานที่จะมอบหมายให้ชัดเจน (Task Expectation) และ สุดท้ายการกำหนดอำนาจในการตัดสินใจในงานที่จะมอบหมาย (Task Authority)
ปัจจัยเรื่องคน People – เลือกคนที่จะมอบหมายงาน โฟกัส 3 เรื่อง ทัศนคติที่ใช่ของหัวหน้างาน จะพูดถึงการบริหารงานแบบ Micro Management ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการมอบหมายงาน , ขีดความสามารถของหัวหน้า และ เครื่องมือในการคัดเลือกและมอบหมายงานให้ตรงกับ Personality Type
ปัจจัยสุดท้าย Methodology – ขั้นตอนการมอบหมายงาน โฟกัส 2 เรื่อง ขั้นตอนการมอบหมายงาน และ แนวทางการติดตามและให้ Feedback & Feedforward

สนใจคอร์สแบบ Full Solution ที่ช่วยให้ผู้นำในองค์กรสามารถมอบหมายงาน แบบกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กร “คลิกที่นี่”

Scroll to Top