Literacy หมายถึง “การรู้หนังสือ” ในอนาคตคนที่มีความรู้ ไม่ใช่ คนที่อ่านออกเขียนได้ แต่เป็นคนที่สามารถลืมสิ่งที่เคยเรียนมาแล้วเรียนรู้ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียนรู้ “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล”
4.6 billion people, or more than half of the world’s population, have access to the internet. And that number is growing rapidly, with roughly 700,000 more people coming online every day.
ประชากรโลกกว่า 4.6 พันล้านคน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
และตัวเลขนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้คนออนไลน์เพิ่มขึ้นประมาณ 700,000 คนทุกวัน
ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Literacy เป็นทักษะที่สำคัญของการทำงานในยุคดิจิทัล ในวันที่เราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยีได้ เพราะเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว จะเห็นได้ว่าสมาร์ทโฟนกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ที่สำคัญและขาดไม่ได้
โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานในศตวรรษนี้อย่างมาก ทั้งการสื่อสาร , การประชุมออนไลน์ , การค้นคว้าข้อมูล , การแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลผ่านคลาวด์ (Cloud) , การเรียนรู้และฝึกอบรมผ่านแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ , รวมไปถึงการทำงานร่วมกันในโลกเสมือน อย่าง Gather Townทัั้งหมดนี้ต้องใช้ทักษะที่เรียกว่า Digital Literacy
วันนี้เทคโนโลยีไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป (nice to have) แต่มันคือ ทางรอด (must to have)
Digital Literacy อ่านว่า ดิจิทัล ลิท’เทอระซี คำว่า Literacy แปลว่า “อ่านออกเขียนได้”
20 ปีก่อนเพียงแค่มีทักษะอ่านหนังสือออก และเขียนหนังสือได้ ก็สามารถประกอบอาชีพได้แล้ว
แต่ในศตวรรษที่ 21 อาจไม่พอ จึงมีคำว่า Digital นำหน้า Literacy ซึ่งหากแปลตรงๆ ก็คงจะหมายความว่า การอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายคำนี้ไว้ว่า
“Digital literacy is the ability to find, evaluate, utilize, share, and create content using information technologies and the Internet.”
ความสามารถในการค้นหา ประเมิน ใช้ แบ่งปัน ข้อมูลทางดิจิทัล รวมไปถึงการสร้างเนื้อหา และ สินทรัพย์ดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต”
โดย 5 ความสามารถหลักที่เชื่อมโยงกันของ Digital Literacy ประกอบด้วย ความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลด้วยเสิร์ชเอนจิน (Search Engines) นอกจากนั้นยังต้องจากประเมินความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ด้วย เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วคือการนำข้อมูลไปใช้ในการทำงาน และสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นรูปแบบภาพ เสียง หรือ วิดีโอ จนสามารถนำข้อมูล และสินทรัพย์ดิจิทัลไปแชร์ แลกเปลี่ยน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
10 เหตุผลทำไม Digital Literacy ถึงสำคัญสำหรับคนทำงานในศตวรรษที่ 21
1. It Saves Time เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้น
หากคุณเป็นคนทำงานที่ดูเหมือนจะยุ่งตลอดเวลา คุณสามารถใช้แอพพลิเคชั่นช่วยในคุณวางแผนงานประจำวัน และช่วยจัดลำดับความสำคัญในการทำงานให้คุณได้ นอกจากนั้นคุณสามารถประหยัดเวลาเดินทางไปทำงาน ด้วยการวางแผนหลีกเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นด้วย Google map รวมไปถึงคุณสามารถค้นหาข้อมูลสิ่งที่คุณต้องการโดยไม่ต้องไปถึงที่ตรงนั้นทำให้ประหยัดเวลาไปมากเลยทีเดียว
2. You Learn Fast เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น
หากคุณเกิดปัญหาในการทำงานแล้วหาทางออกไม่ได้เพราะข้อจำกัดด้านความรู้ คุณสามารถเข้าถึงความรู้มหาศาลทั้งในรูปแบบบทความ อินโฟกราฟฟิก และ วิดีโอบทเรียน วันนี้คุณสามารถเตรียมพร้อมทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในอนาคตผ่านแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์มากมาย อย่าง Fastlearn10x.com
3. You Save Money เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า
เทคโนโลยีดิจทัลช่วยให้คุณเข้าถึงผลิตภัณฑ์มากมาย ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่า ที่สำคัญคุณสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้คุณประหยัดเงินในกระเป๋าไปมากเลยทีเดียว
4. It Makes You Safer เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มความปลอดภัยในชีวิต
คุณสามารถขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้จากสมาร์ทโฟน หรือ สมาร์ทวอชของคุณ ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียได้ทันถ่วงที นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นยังช่วยให้คุณเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 หรือ พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณ
5. It Keep You Informed เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้คุณเข้าถึงข้อมูลมหาศาล
คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดและทันทีที่คุณต้องใช้ผ่านบริการเสิร์ชเอนจิน เพียงแค่คุณมีอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ข้อมูลจะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น ข้อมูลที่ดีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่คุณเจอได้อย่างง่ายดายด้วย
6. It Keep You Connected เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกับผู้คนได้ทั่วโลก
เทคโนโลยีดิจิทัลทำลายข้อจำกัดด้านพรมแดน และระยะทาง คุณสามารถสื่อสารแบบเห็นหน้ากับผู้คนอีกซีกโลกโดยไม่ต้องเดินทางแม้แต่ก้าวเดียว ไม่ต้องทำหนังสือเดินทางหรือขออนุญาตเข้าเมือง ซึ่งมันทำให้คุณทำงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. You’ll Make Better Decisions เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลปริมาณมาก (Big Data) ช่วยให้คุณสามารถนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ทั้งการจัดเก็บข้อมูล(Collect) การนำมาวิเคราะห์ (Data Analytic) รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization)
8. It Can Keep You Employed เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้คุณไม่ตกงาน
นอกจากทักษะในด้านอื่นๆ แล้ว ทักษะทางเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ ไม่ว่าการวิเคราะห์ข้อมูล , การเขียนโปรแกรม , การตัดต่อวิดีโอ , การทำกราฟฟิก ฯลฯ ทักษะเหล่านี้จะไม่ทำให้คุณตกงานแน่นอน
9. It Makes You Happier เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น
วันนี้คุณสามารถเข้าถึงความบันเทิง ซีรีย์ที่ช่วยฮีลคุณจากความท้าทายในการทำงาน ได้ทันทีโดยไม่ต้องสนใจผังรายการในทีวี คุณสามารถซื้อบัตรคอนเสริต์ศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ทันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และคุณสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วยการเล่นบอดร์ดเกมออนไลน์
10. You can Influence the World เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้คุณเป็นผู้มีอิทธิพลในโลกได้
คุณสามารถสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ได้ด้วยสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว และคุณสามารถแบ่งปันจุดแข็งที่คุณมี เพื่อสร้างผู้ติดตามผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง Tiktok , Facebook , Youtube ฯลฯ สร้างรายได้และอิทธิพลในโลกได้ โดยต้องมีตำแหน่งใดๆ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามี Digital Literacy แล้วลองมาดูตัวชี้วัดด้านล่างกัน
A Few Key Indicators of Digital Literacy
ตัวชี้วัดสำคัญของการมีขีดความสามารถทางดิจิทัล
1. Confidently identify and operate different technologies
ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ
2. Access, interpret, and critically evaluate information in digital spheres
เข้าถึง ตีความ และ ประเมินข้อมูล อย่างมีวิจารณญาณในบริบทดิจิทัลได้
3. Communicate with others using online tools
สื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้เครื่องมือออนไลน์
4. Manage your online identity while being conscious of security, safety, and privacy
จัดการตัวตนออนไลน์โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
5. Create digital content, not just consume it
ไม่ใช่แค่รับสารแต่สามารถสร้างเนื้อหาดิจิทัลได้
ในองค์กรธุรกิจก็เช่นกัน…..หลายองค์กรเริ่มทำ digital transformation ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนองค์กรมีความพร้อมในการแข่งขันในโลกดิจิทัลมากขึ้น เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการ รักษาเสถียรภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร โดยในหลายองค์กรมีแนวนโน้มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานอยู่ 5 ลักษณะ
1. อันแรกเลยคือ ปรับปรุงรูปแบบการทำงาน
อย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ การนำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ เช่นลดการใช้กระดาษ (Paper less) ซึ่งเทคโนโลยีทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. คือการนำเทคโนโลยีมีสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร
เช่นการนำเทคโนโลยีข้อมูล (big data) มาช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจ หรือ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ขององค์กร
3. นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน
เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร รวมไปถึงการออกเอกสาร และการทำงานหลายฟังก์ชั่นในองค์กร
4. คือการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการทำงาน
ที่เห็นได้ชัดเลยคือ อุตสาหกรรมการผลิต ที่ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาควบคุมการผลิต ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการ และความผิดพลาดของเครื่องจักร และมนุษย์ (Human Error)
5. สุดท้าย คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ทั้งในรูปแบบการสื่อสารทางไกล และ การแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูล
แต่ทราบไหมครับความจริงแล้วการ Digital Transformation ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการ การกำหนดกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ใหม่ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับบริบทดิจิทัล และที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาคน ทั้งกรอบความคิด ทักษะ และความสามารถทางดิจิทัล (Digital Literacy)
แล้วจะเพิ่ม ความสามารถทางดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับพนักงาน อย่างเป็นรูปธรรม ได้อย่างไร
5 ขั้นตอนพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีในที่ทำงาน
Step 1 : Proselytize Digital Literacy and Why It’s Valuable for Everyone
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนี้ต้อง ทำให้พนักงานทุกคนรู้ว่า ความรู้ทางดิจิทัล สำคัญและมีคุณค่ามากแค่ไหน โดยต้องมีแผนในการสื่อสารให้พนักงานรับรู้ (Awareness) รวมไปถึงแคมเปญ หรือ กิจกรรมที่สร้างความเข้าใจเชิงลึกกับพนักงานทุกคน
Step 2 : Do an Assessment of the Digital Literacy Level in Your Workplace
กำหนดความรู้ทางดิจิทัล หรือ ทักษะทางดิจิทัล ที่พนักงานต้องรู้ โดยแบ่งออกเป็นระดับ(ยกตัวอย่าง Lv.1-5)จากนั้นให้สำรวจระดับความรู้ทางดิจิทัลที่พนักงานมี เปรียบเทียบกับระดับความคาดหวังขององค์กรที่ต้องการจะได้ช่องว่าง (Gap) ตามสูตร E-A=G (expect-actual= gap) ให้นำข้อมูลภาพรวมทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาความรู้ทางดิจิทัลของพนักงานที่ขาดหายไป
Step 3 : Provide Digital Learning and OTJ Training Courses
พัฒนาหลักสูตรความรู้ทางดิจิทัลเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้พนักงานเข้าถึงความรู้ได้ไม่จำกัด และได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมไปถึงการทำ Training และ ติดตามผลอย่างจริงจัง
Step 4 : Don’t Procrastinate : Include part of work
เมื่อผ่านในช่วงการสร้างการรับรู้ และ จัดการเรียนรู้ไปแล้ว ให้พูดคุยกับระดับ C-Level เพื่อสร้างให้การพัฒนาความรู้ทางดิจิทัล เป็นระดับนโยบาย โดยกำหนดให้ความรู้ทางดิจิทัลผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและกำหนดให้เป็นค่านิยมหลัก หรือ วัฒนธรรมองค์กร (culture)
Step 5 : Fine Tune, Evaluate and Grow
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็วมาก เพื่อให้แน่ใจว่า ความรู้ทางดิจิทัลในองค์กรยังสามารถใช้งานได้ อย่าลืมประเมินผล อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย หกเดือนครั้ง และปรับปรุงขีดความสามารถนี้สม่ำเสมอ
สรุป Digital Literacy หรือ ความสามารถและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะสำคัญที่ถ้าไม่มีแล้ว อาจะไม่ถูกจ้างงานในศตวรรษที่ 21 Digital Literacy ประกอบไปด้วยความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ด้านคือ
- Using : การใช้งานพื้นฐาน เช่น การเขียน รับ-ส่ง Email , การค้นหาข้อมูลด้วย เสิร์ชเอนจิน (Search Engines) , การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปพื้นฐานอย่าง Microsoft Office
- Understanding : ความเข้าใจในบริบทเทคโนโลยีต่างๆ เช่น IoT (Internet of thing) , Generative AI , Blockchain ฯลฯ
- Creating : สามารถสร้างสินทรัพย์ทางดิจิทัลได้เช่น เขียนคอนเทนต์ , ออกแบบกราฟิกต่างๆ , ตัดต่อวิดีโอ , สร้างเว็บไซต์ , เขียนโปรแกรมสร้างแอพพลิเคชั่น
และตระหนักไว้ว่า เทคโนโลยีไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป (nice to have) แต่มันคือ ทางรอด (must to have) ของคนในทำงานจากนี้ไปอย่างแท้จริง