จุดตายของ “หัวหน้า” คือ สั่งงานไม่เป็น มอบหมายงานไม่ได้ ให้ฟีดแบคไม่ดี
🚨 เชื่อไหมว่าหัวหน้ากว่าครึ่ง “ล้มเหลว” ในการเป็นหัวหน้างานครั้งแรก
งานวิจัยชี้ว่าหัวหน้างานใหม่กว่า 61% ยอมรับตรงๆ ว่าพวกเขาไม่ได้เตรียมความพร้อมกับบทบาทใหม่ที่จะได้รับ
และอีก 76% บอกว่าองค์กรไม่ได้สนับสนุนทางความรู้ ให้พวกเขาเลย
บทความนี้จะช่วยให้หัวหน้าเปลี่ยน “จุดตาย” ให้กลายเป็น “จุดแกร่ง”
ทำไมต้องมอบหมายงาน – What are the benefits of delegating?
Free up your time to achieve more : การมอบหมายงาน ช่วยให้หัวหน้ามีเวลาเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะไปทำงานที่สำคัญและสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้องค์กร ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม หัวหน้าต้องทำแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ Operation (ปฏิบัติงาน) , Training (สอนงาน) , Controlling (ควบคุมงาน) , Checking (ตรวจสอบ) , จนถึง Report (รายงาน) การที่หัวหน้านั้นทำทุกอย่างไม่ได้หมายความว่าผลงานนั้นจะออกมาดี ไม่มีความผิดพลาด เพราะปัจจัยเรื่องเวลาที่หัวหน้างานหนึ่งคนไม่สามารถทำทุกอย่างได้ ถึงทำได้ก็ไม่มีเวลาไปทำงานที่สร้างคุณค่าที่สำคัญต่อองค์กรได้ อย่างงานด้านกลยุทธ์ , งานแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน , งานพัฒนานวัตกรรม และ งานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร
Increase your team’s flexibility : การมอบหมาย ช่วยสร้างความยืดหยุ่น และ เพิ่มความสามารถในการรับมือกับความท้าทายของการทำงานในอนาคตให้กับทีมได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากบริบทการทำงานในปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หักศอก(คาดเดายาก) ทำให้ปัญหาและวิกฤติ ที่ต้องพบเจอในอนาคต จะมีความซับซ้อน และ เข้าใจได้ยากมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาที่หัวหน้าคนเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องอาศัย ความร่วมมือ ความหลากหลาย จากทีมที่มีทีมเวิร์คที่แข็งแกร่ง การมอบหมายงานจึงเป็นเครื่องมือเตรียมความพร้อมทางทักษะและการฝึกจำลองในสถานการณ์จริงที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางจิตใจในการรับมือกับปัญหาและอุปสรรคของทีมด้วย
Expand & Grow your team’s efficiency : การมอบหมายงานช่วยขยายขอบเขตความสามารถของทีมและสร้างการเติบโตอย่างไรขีดจำกัด เพราะการมอบหมายงาน หรือ Delegation เป็นเครื่องมือการบริหารคน บริหารงาน บนแนวคิดการบริหารแบบกระจายอำนาจ (Empowering) ที่มอบสิทธิ์ในการตัดสินใจในการทำงานให้ทีมงานไปด้วย รวมไปถึงอนุญาตให้มีพื้นของความผิดพลาด ให้ทีมได้เรียนรู้ จากปัญหาจริงด้วยตัวเอง เป็นการบริหารที่เน้นการสนับสนุน มากกว่าการสั่งให้ทำ ซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารที่ช่วยสร้างการเติบโตได้อย่างไรขีดจำกัด และ ยั่งยืน ตรงข้ามกับการบริหารแบบให้ทิศทาง (Direction) ที่ทุกอย่างต้องถูกควบคุมโดยหัวหน้าทุกกระบวนการ ลูกน้องมีหน้าที่ทำตามคำสั่ง หรือ ทำตามระบบที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่มีโอกาสให้ผิดพลาด
3 องค์ประกอบมอบหมายงานอย่างไรให้ลูกน้องเกงขึ้น 10เท่า (Element of 10x Effective Delegation)
Task – เลือกงานที่จะมอบหมาย
องค์ประกอบแรกนี้จะให้ความสำคัญอยู่ 3 เรื่องคือ Task Delegation (การเลือกงานที่จะมอบหมาย) , การกำหนดเป้าหมายในงานที่จะมอบหมายให้ชัดเจน (Task Expectation) และ สุดท้ายการกำหนดอำนาจในการตัดสินใจในงานที่จะมอบหมาย (Task Authority)
6T ลักษณะงานโดยทั่วไปที่ควรมอบหมายงาน
Tiny งานเล็กๆ น้อยๆ : งานที่ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วนเป็นงานเล็กๆ หลายๆ งาน ซึ่งรวมกันแล้วต้องใช้เวลาพอสมควร เป็นงานที่รบกวนให้หัวหน้าไม่สามารถทำงานเชิงกลยุทธ์ หรือ งานที่สำคัญกว่าได้ อย่างเช่น งานลงทะเบียน จองบริการต่างๆ , ลงเวลานัดหมายประชุม , งานส่งข้อมูลให้ลูกค้า หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , งานหาข้อมูลเพิ่มเติม
Tedious งานง่ายๆ : งานที่ไม่ได้ใช้ทักษะขั้นสูง ที่ใครๆ ก็ทำได้ อย่างเช่น คีย์ข้อมูล , อัพเดทข้อมูล , พิมพ์รายงาน หัวหน้าสามารถมอบหมายให้ลูกน้องได้ฝึกทักษะเบื้องต้นได้
Time-Consuming : งานที่มีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาทำระยะหนึ่ง เป็นงานที่ต้องอาศัยเวลาและต้องโฟกัสกับงานนั้นเป็นพิเศษ แต่เป็นลักษณะงานที่ไม่ได้มีความสำคัญมาก ซึ่งหัวงานสามารถมอบหมายงานนี้ให้ลูกน้องที่มีความสามารถทำไปสัก 80% ของงานแล้วหัวหน้าค่อยเข้ามามีบทบาทตรวจสอบ ให้คำแนะนำ หรืออนุมัติอีก 20% สุดท้าย อย่างเช่นงาน จัดทำ Presentation รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน , ออกแบบกิจกรรมเพิ่มผลผลิตของหน่วยงาน
Teachable : งานที่มีรายละเอียดการปฏิบัติ และ ประกอบด้วยงานย่อยหลายอย่าง ซึ่งจะมอบหมายงานได้ต้องมีการสอนงานอย่างเป็นระบบ เป็นงานเชิงปฏิบัติการที่ควรมอบหมายให้ลูกน้อง โดยในขั้นสุดท้ายหัวหน้างานค่อยเข้ามามีบมบาทในการร่วมตรวจสอบ อย่างเช่น งานเปิด PR – PO , งานสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน , การวางแผนงานเชิงปฏิบัติการ
Time Sensitive : งานที่แข่งกับเวลา เป็นงานเร่งด่วน ที่ไม่ควรยึดติดไปกับหัวหน้างานเพียงคนเดียว เพราะในบางสถานการณ์ที่หัวหน้างานไม่อยู่อาจสร้างปัญหาได้เช่น งานให้ข้อมูลพื้นฐานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , การตอบคำถามลูกค้า , รายงานข้อมูลเร่งด่วน ซึ่งเป็นงานที่หัวหน้าควรสอนและมอบหมายให้ลูกน้องทำได้
Terrible At : งานเฉพาะทางที่ใช้ทักษะขั้นสูง และเป็นงานที่หัวหน้างานไม่ถนัด อย่างเช่น ออกแบบกราฟิก , ตัดต่อวิดีโอ , สร้าง Dashboard เป็นต้น เพราะหากในสถานการณ์เร่งด่วน หัวหน้างานทำเองอาจไม่ทันเวลา และ ผลลัพธ์อาจไม่ดีตามเป้าหมาย หัวหน้างานควรมอบหมายงานที่ท้าทายนี้ให้ลูกน้องที่มีความสามารถ
ถ้า 6T ยังไม่ตอบโจทย์ลองเอาแนวคิดนี้ลองวิเคราะห์งานว่าควรมอบหมายหรือไม่
ลองใช้ประเมินงานจาก 4 ปัจจัยนี้คือ
Amount of Time – งานนี้ต้องใช้เวลาทำมากน้อยแค่ไหน
Urgency – งานนี้มีความเร่งด่วนมากแค่ไหน
Complexity – งานนี้มีความซับซ้อนมากแค่ไหน
Impact Other – งานนี้มีผลกระทบต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน
วิธีการวิเคราะห์งานก่อนจะมอบหมายด้วยแนวคิด A-U-C-I มี 3 ขั้นตอน
1. เลือกงานที่ต้องการจะมอบหมาย
2. ใช้ข้อมูลจากตารางด้านล่างคำนวนตามสูตร A x U x C x I = Delegate Points
3. นำผลวิเคราะห์มาสรุปและประเมินความเป็นไปได้ในการมอบหมายตามสถานการณ์จริง
ปัจจัย | 5 คะแนน | 3 คะแนน | 1 คะแนน |
Amount of Time | ใช้เวลานาน (มากกว่า 2 สัปดาห์) | ใช้เวลาพอประมาณ (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) | ใช้เวลาไม่นาน (น้อยกว่า 1 วัน) |
Urgency | ไม่เร่งด่วน และไม่มีอยู่ในแผนงาน | อยู่ในแผนงาน | เร่งด่วน |
Complexity | มีความซับซ้อนน้อยสามารถปฏิบัติงานได้ทันที | มีความซับซ้อนแต่มีระบบการปฏิบัติที่ชัดเจน | มีความซับซ้อนมาก ต้องมีการสอนงาน |
Impact Other | ไม่มีความเสี่ยงเมื่อเกิดความผิดพลาด | มีผลกระทบบ้างเล็กน้อยเมื่อเกิดความผิดพลาด | หากมีความผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อองค์กร หรือ ลูกค้าโดยตรง |
ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ : จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน HR
Amount of Time = 3 คะแนน
Urgency = 3 คะแนน
Complexity = 3 คะแนน
Impact Other = 3 คะแนน
(A)3 x (U)3 x (C)3 x (I)3 = 81
(ค่ายิ่งมาก หมายความว่า งานนี้ควรมอบหมายให้ทีมงาน)
งานที่จะมอบหมาย | Amount of Time | Urgency | Complexity | Impact Other | ผลรวม | สรุปแนวทาง |
สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน HR | 3 | 3 | 3 | 3 | 81 | จัดทำระบบให้ลูกน้องสามารถทำตามระบบเพื่อลดความผิดพลาด |
สรุปข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำเสนอปรับเงินเดือน โบนัส | 5 | 5 | 5 | 1 | 125 | มอบหมายงานให้ลูกน้องทำข้อมูล แล้วหัวหน้าอนุมัติตรวจสอบ |
วางแผนฝึกอบรมประจำปี | 5 | 3 | 1 | 1 | 15 | มอบหมายให้ลูกน้องทำ ทำกิจกรรมย่อยๆ ในงานแล้วหัวหน้าเป็นผู้สรุปวิเคราะห์ |
เมื่อเลือกงานที่จะมอบหมายได้แล้ว ให้กำหนดเป้าหมาย และ ระดับอำนาจในการตัดสินใจ
การกำหนดเป้าหมาย และ ความคาดหวังของงานที่จะมอบหมาย ประกอบดัวย
1. เป้าหมายของงาน – สามารถใช้หลัก SMART มาช่วยตั้งเป้าหมายของงานให้มีประสิทธิภาพได้
- Specific : ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไรจากงานนี้
- Measurable : ต้องมีเครื่องมือที่สามารถวัดความก้าวหน้าและความสำเร็จของงานได้
- Attainable : ค่าเป้าหมายต้องมีความเป็นไปได้ ทั้งในมิติของเวลาและคุณภาพของงาน
- Relevant : มีความสอดคล้องกับบทบาทและความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
- Time Based : มีกรอบเวลาอย่างชัดเจน
2. วัตถุประสงค์ของงาน – งานนี้ทำเพื่ออะไร สำคัญต่อลูกน้องอย่างไร ทั้งในมิติของ ผลงานที่อยากได้ (Performance) และ ศักยภาพที่ต้องการให้ลูกน้องได้เรียนรู้ พัฒนา (Potential)
ระดับอำนาจในการตัดสินใจ มีอยู่ 4 ระดับ เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดในกิจกรรมต่างๆ ของงานที่จะมอบหมาย
- ระดับที่ 4 : สามารถตัดสินใจ และ ลงมือทำได้ทันที
- ระดับที่ 3 : สามารถตัดสินใจตามขอบเขตที่กำหนด หรือ ตัดสินใจจากข้อมูล และ ลงมือทำได้
- ระดับที่ 2 : สามารถนำเสนอความเห็น และจะลงมือทำได้หลังจากได้รับการอนุมัติแล้วเท่านั้น
- ระดับที่ 1 : ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเท่านั้น
ตัวอย่างการวางแผนการมอบอำนาจในการตัดสินใจในงาน วางแผนฝึกอบรมประจำปี
งาน / กิจกรรม | Act on Instruction | Act After Approval | Decide, Inform & Act | Decide & Act |
ออกแบบฟอร์มสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม | ✔ | |||
ดำเนินการสำรวจความต้องการฝึกอบรมหน่วยงานต่างๆ | ✔ | |||
สรุปผลสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม | ✔ | |||
วางแผนฝึกอบรมตามข้อมูลสำรวจ | ✔ |
สรุป 4 สิ่งที่ต้องมีก่อนการมอบหมายงานคือ
1. Results Expected : ผลลัพธ์ที่คาดหวังในงาน
2. Duties : บทบาท หน้าที่ และแนวทางปฏิบัติ
3. Authority : ขอบเขต และ อำนาจในการตัดสินใจ
4. Performance Indicator : ตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน และ แนวทางการติดตามผล
People – เลือกคนที่จะมอบหมายงาน
องค์ประกอบนี้จะให้ความสำคัญ 3 เรื่องคือ Delegator Mindset หรือ ทัศนคติที่ใช่ของหัวหน้างาน จะพูดถึงการบริหารงานแบบ Micro Management ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการมอบหมายงาน , Delegator ability ขีดความสามารถของหัวหน้าจะพูดถึงความสามารถในการสื่อสาร และ การฟังเป็นหลัก สุดท้าย Delegate Personality คือเครื่องมือในการคัดเลือกและมอบหมายงานให้ตรงกับ Personality Type
ในบทความนี้จะพูดเครื่องมือและแนวทางในการเลือกคนมารับมอบหมายงาน 2 แนวทาง
ทั้งแบบ “มีคนให้เลือก” และ “ไม่มีคนแต่ตอนเลือก”
ครั้งหนึ่งผมเคยถามพี่ๆ Manager ในคลาส Effective Delegation ว่า
“อะไรคือเรื่องน่าปวดหัวที่สุดในการมอบหมายงาน”
พี่ๆ Manager ส่วนใหญ่บอกว่า “เลือกคนมารับมอบงาน”
”ถ้าพอมีคนให้เลือก“ ลองใช้เกณฑ์นี้ B-E-S-T ในการคัดเลือกลูกน้อง
B = Behavior : มีพื้นฐานนิสัย ที่ช่วยให้งานนั้นสำเร็จ เช่น มีความรับผิดชอบ , คิดนอกกรอบ , กล้าตัดสินใจ , มี Service Mind เป็นต้น
E = Efforts : มีความเต็มใจ สนใจ ชอบ เลยขออาสามาทำ งานนั้น หรือ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เป็นพิเศษ
S = Skills : มีความรู้ และ ทักษะ เพียงต่อการทำงานนั้นให้สำเร็จ
T – Time : มีเวลา และ สามารถให้เวลา กับงานได้อย่างเต็มที่ เสร็จทันเส้นตายของงาน
โดยปกติแล้วควรให้ความสำคัญไปที่ B กับ E สัก 60-70% ส่วน S กับ T หัวหน้าสามารถช่วยสอนงาน ช่วยดึงงานที่สำคัญน้อยกว่าออกมาให้ลูกน้องมีเวลาทำงานที่มอบหมายใหม่ได้ แต่ B กับ E มันสร้างได้ยากกว่า
“ถ้าไม่มีใครให้เลือกแต่ต้องเลือก” ลองใช้เทคนิคนี้
วิเคราะห์ลูกน้องกับงานว่า น้องมีความรู้ มีทักษะ ความสามารถที่พอจะทำงานนี้สำเร็จไหม (Skill) , และน้องมีความเต็มใจ มุ่งมั่นที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จไหม (Will)
High Skill, Low Will (รู้ แต่ ไม่อยาก) | High Skill, High Will (รู้ และ อยาก) |
Low Skill, Low Will (ไม่รู้ และ ไม่อยาก) | Low Skill , High Will (ไม่รู้ แต่ อยาก) |
Low Skill , High Will (ไม่รู้ แต่ อยาก)
High Skill, High Will (รู้ และ อยาก)
High Skill, Low Will (รู้ แต่ ไม่อยาก)
Low Skill, Low Will (ไม่รู้ และ ไม่อยาก)
น้องที่ High Skill, High Will (รู้ และ อยาก) มอบหมายงานได้เลย 4 องค์ประกอบในการมอบหมายต้องครบนะ คือ
1. จุดมุ่งหมาย (Purpose) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Results Expected)
2. บทบาท หน้าที่ แนวทางปฏิบัติงาน (Duties) และ ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น (Accountability)
3. ขอบเขต สิทธิ์และอำนาจในการตัดสินใจได้แค่ไหน (Authority)
4. สุดท้าย การติดตาม (Follow up) และ ตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน
ถ้าจะมอบหมายงานน้องที่มีสเตตัส ”ไม่รู้ แต่ อยาก“ (Low Skill , High Will)
ให้มอบหมายด้วยการสอนงานก่อน อดทนคอยให้คำแนะนำ ให้เวลากับน้องมากหน่อย เน้น Empathy รักษาบรรยากาศ จะช่วยให้น้องเปลี่ยนสเตตัสเป็น ”รู้ และ อยาก“ จากนั้นก็มอบหมายงาน Empowers น้องได้เลย
จะมอบหมายงานน้องที่มีสเตตัส ”รู้ แต่ ไม่อยาก“ (High Skill, High Will)
ถ้า Trust น้องกับเรายังพอมี ลองเปิดใจคุยว่า “น้องติดอะไรหรือป่าวถ้าพี่จะ assign งานนี้ให้ , พี่ช่วยอะไรน้องได้บ้าง” รีบหาให้เจอว่าอะไรทำให้น้อง “ไม่อยาก” แล้วรีบช่วยน้อง
แต่ถ้า Trust ไม่ค่อยดี แต่อยากใช้ความเก่งของน้องคนนี้ ให้เน้นใช้คำถามเพื่อดึงน้องมามีส่วนร่วมกับเราก่อน แทนการออกคำสั่ง แสดงให้น้องเห็นว่า เราให้เกียรติ และชื่นชมในความสามารถของเค้า อดทนหน่อย ไม่นานน้องจะเปลี่ยน สเตตัสเป็น ”รู้ และ อยาก“ จากนั้นงานที่มอบหมาย อำนาจที่มอบให้น้องไป จะสร้างคุณค่าสูงแน่นอน
ส่วนน้องที่ ”ไม่รู้ และ ไม่อยาก“ (Low Skill, Low Will) จริงๆ ก็อยากแนะนำให้พิจารณาลองหาน้องคนใหม่ดีกว่า เพราะถ้ารีบ!! กับน้องสเตตัสนี้ โอกาสสำเร็จไม่เยอะมาก
แต่เราจะเป็น ”หัวหน้าที่ให้โอกาส“ แนะนำให้ลองมอบหมายงานที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ความเสี่ยงไม่เยอะ พลาดแล้วผลกระทบไม่มากให้น้องดูก่อน แล้วค่อยไต่ระดับขึ้นไป ที่สำคัญเราต้องอดทน สอนงานน้อง ปรับวิธีคิดของน้อง ซึ่งต้องยอมรับว่าท้าทายและใช้เวลาพอสมควร แต่เมื่อไหร่ที่น้องรู้สึกได้ว่าเราจริงใจที่จะช่วยเขาจริงๆ น้องจะค่อยๆ เปลี่ยนสเตตัส
Methodology – ขั้นตอนการมอบหมายงาน
องค์ประกอบสุดท้ายของ 10x Effective Delegation มอบหมายงานลูกน้องนี้ จะพูดถึงขั้นตอนการมอบหมายงาน และ แนวทางการติดตามและให้ Feedback & Feedforward
ขั้นตอนการมอบหมายงานมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดงานที่จะมอบหมาย
ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดขอบเขตและผลลัพธ์ที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 3 : เลือกคนที่จะรับมอบหมายงาน
ขั้นตอนที่ 4 : สื่อสารและมอบหมายงาน
ขั้นตอนที่ 5 : ติดตามผล เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 6 : ประเมินผลการปฏิบัติงาน พร้อมให้คำแนะนำในการพัฒนา
แนวทางและตัวอย่างการสื่อสารในการมอบหมายงานด้วย The Golden Circle
WHY = The Purpose (จุดมุ่งหมายของงาน) – งานตรวจนับสต๊อคเป็นงานที่สำคัญของคลังเรา เพราะมันจะเป็นข้อมูลให้ทีมผู้บริหารสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานนี้ต้องใช้ความละเอียด รอบคอบอย่างมาก
HOW = The Process (ขั้นตอน แนวทาว) – วิธีการนะ ให้ปริ้นเอกสารออกมาจากระบบ แล้วตรวจนับตามโลเคชั่นในระบบ ถ้าข้อมูลไม่ตรงสามารถปรับในระบบได้เลย ใส่หมายเหตุไว้ให้พี่ด้วย
WHAT = The Result (ผลลัพธ์ของงาน) – พี่รบกวนตรวจนับสต๊อค คลังสินค้า A (location 1-10) เริ่มนับตั้งวันที่ 1 -5 สิงหาคม นี้นะ พร้อมสรุปข้อมูลให้พี่ด้วยภายในวันที่ 15 สิงหาคม
การสื่อสารด้วย Golden Circle ในการมอบหมายงานจะช่วยให้ผู้รับมอบหมายงานรับรู้ถึงคุณค่าของงานซึ่งจะเสริมสร้างแรงจูงในการทำงาน และ เข้าใจแนวทาง หรือ ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานโดยไม่จำเป็น รวมไปถึง ผู้รับมอบหมายงานเข้าใจ ผลลัพธ์ที่คาดหวังของหัวหน้า
สรุปการมอบหมายงานที่จะทำให้ลูกน้องเก่งขึ้น 10 เท่า (10x Effective Delegation) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ
Task – เลือกงานที่จะมอบหมาย โฟกัส 3 เรื่อง Task Delegation (การเลือกงานที่จะมอบหมาย) , การกำหนดเป้าหมายในงานที่จะมอบหมายให้ชัดเจน (Task Expectation) และ สุดท้ายการกำหนดอำนาจในการตัดสินใจในงานที่จะมอบหมาย (Task Authority)
ปัจจัยเรื่องคน People – เลือกคนที่จะมอบหมายงาน โฟกัส 3 เรื่อง ทัศนคติที่ใช่ของหัวหน้างาน จะพูดถึงการบริหารงานแบบ Micro Management ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการมอบหมายงาน , ขีดความสามารถของหัวหน้า และ เครื่องมือในการคัดเลือกและมอบหมายงานให้ตรงกับ Personality Type
ปัจจัยสุดท้าย Methodology – ขั้นตอนการมอบหมายงาน โฟกัส 2 เรื่อง ขั้นตอนการมอบหมายงาน และ แนวทางการติดตามและให้ Feedback & Feedforward
สนใจคอร์สแบบ Full Solution ที่ช่วยให้ผู้นำในองค์กรสามารถมอบหมายงาน แบบกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กร “คลิกที่นี่”